ภาวะความคิดที่ดุเดือด

การที่เรามีความคิดในฉบับแบบของเราเป็สิ่งที่ใครๆก็ไม่รู้ใครๆก็ไม่ทราบแต่คนที่รู้คือตัวเราเท่านั้นสำคัญอยู่ที่ว่าจะใช้มันอย่างไร
1.รู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำอะไรที่ไม่ดี(จะรู้สึกว่าถึงตอนที่แม่เลี้ยงเราและสอนเราตอนเด็ก)ความรู้สึกนี้จะเข้ามาในหัว
2.รู้สึกสมเพชคนที่เที่ยวเตร่กลางคืน คิดว่าที่จริงแล้วคนเราต้องการความสุขแบบนี้จริงหรือทำไมผมถึงไม่รู้สึกว่ามันสุขเลย
3.เกรงกลัวความผิดเมื่อคิดจะทำสิ่งที่ผิด และรู้สึกว่าจิตใต้สำนึกได้แย้งว่าห้ามทำโดยเด็จขาด
ทำให้เราไม่สามารถทำสิ่งที่ผิดได้

เรื่องราวของผมอาจฟังดูแปลกแต่ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นกับผมเกือบตลอด
นอกจากนี้แล้วผมมีความรู้สึกอีกหลายอย่างที่หาคำตอบไม่ได้
บางทีเล่าให้คนอื่นฟังว่ารู้สึกแบบนี้กลายว่าเราเป็นคนแปลกที่ไม่รู้สึกเหมือนเขา
ผมอยากรู้ว่าความรู้สึกทำนองนี้มันคืออะไรครับ

มีหิริ และ โอตตัปปะ สูง ก็ดีแล้ว

การทำไม่ดี นำความทุกข์มาให้ในอนาคต
แสดงว่าคุณ อาจเคยฝึกจิตฝึกใจ มาก่อนเมื่ออดีต(ชาติ) ความคิด การตัดสินใจ เป็นไปตามการที่เคยได้สะสมมา

อดีต กรรม ทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาทำให้ตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดภพ คือการกระทำกรรมใหม่อีก(กรรมภพ)

ถ้าทำอดีตกรรมไม่ค่อยดีเอาไว้ เช่นเบียดเบียนสัตว์อื่น ส่งผลให้เกิดผัสสะที่ไม่ดี กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เลยได้รับ ทุกข์เวทนาทางกายและทางใจเป็นส่วนใหญ๋ (แทนที่จะเป็นสุข กลับได้ทุกข์ซะมากกว่า)

คุณตระหนักถึง กฏแห่งกรรมอันนี้ นับว่า ดีแล้ว จะได้อยู่รอดปลอดภัย ในวัฏฏสงสาร สืบไป

จัดเป็น นักท่องวัฏฏสงสาร ที่ดี






























วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ผู้เสียหายในคดีอาญา

ผู้เสียหายในคดีอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒๘   ได้บัญญัติไว้ว่า         บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
                        ( ๑ )     พนักงานอัยการ
                        ( ๒ )    ผู้เสียหาย
                        ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย มาตรา ๒๘  ดังกล่าวนี้  ให้อำนาจทั้งราษฎรผู้ได้รับความเสียหายและพนักงานอัยการ  สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน หรือความผิดอาญาต่อส่วนตัว
                        ในสมัยโบราณแต่กาลก่อนมา  การควบคุมอาชญากรรมเป็นเรื่องของราษฎรเองทั้งสิ้น  กล่าวคือ  เมื่อเกิดการกระทำความผิดอาญาขึ้น  ราษฎรผู้ได้รับความเสียหายจะต้องฟ้องร้องเองเพื่อให้ศาลตัดสินคดี     ตามหลักของการแก้แค้นทดแทนหรือที่เราเรียกกันว่า  ตาต่อตา  ฟันต่อฟัน  ต่อมาแนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปโดยถือกันว่า  การควบคุมอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของรัฐ  เพราะความผิดอาญามีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม  สังคมจะต้องรับผิดชอบ  จึงได้มีแนวคิดให้รัฐเป็นผู้ฟ้องคดีอาญา  โดยพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องร้อง 
                        ในประเทศภาคพื้นยุโรป  เช่น ฝรั่งเศส   เยอรมัน หรือประเทศสหรัฐอเมริกา  หรือแม้แต่ในประเทศเอเชียของเรา  เช่น  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย กฎหมายกำหนดให้เพียงพนักงานอัยการเท่านั้นที่จะฟ้องร้องคดีอาญาได้  ส่วนราษฎรผู้เสียหายไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเอง  แต่ของประเทศไทยเรานั้นระบบการฟ้องร้องคดีอาญาเป็นระบบผสม  ให้อำนาจทั้งรัฐและราษฎรผู้ได้รับความเสียหายในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทางอาญา       
                        ผู้เสียหาย มีบัญญัติใว้ใน มาตรา ๒ (๔)  ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ผู้เสียหาย หมายความถึง  บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้  ดังบัญญัติไว้ในมาตรา  ๔ , ๕  และ ๖           
                        จากคำนิยามมาตรา  ๒ (๔)   นี้  ผู้เสียหายต้องเป็นบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งก็คือ มนุษย์เรานี่เอง  หรืออาจจะเป็นนิติบุคคล คือ  บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นมาให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกับมนุษย์เรา  เช่น กระทรวง  กรม  บริษัท  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นต้น  ผู้เสียหายสามารถแบ่งได้เป็น    ประเภท คือ



(ก)      ผู้เสียหายที่แท้จริง
(ข)      ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง  ตามมาตรา ๔ , ๕ และ ๖
(ก) ผู้เสียหายที่แท้จริง
             ผู้เสียหายที่แท้จริงนี้   พิจารณาได้จากมาตรา    (๔)   ตอนต้นที่ว่า   ผู้เสียหาย  หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง.....   จากคำนิยามนี้สามารถแยกได้ว่า  กรณีที่จะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงนั้น  ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์     ประการ  คือ
๑.                 ต้องมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นต่อบุคคลนั้น
๒.                บุคคลนั้นต้องได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญานั้น กล่าวคือ ต้องเป็น ผู้เสียหายโดยพฤตินัย
๓.                บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย กล่าวคือ ต้องเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย
                    ซึ่งขอกล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้  
(๑)            ต้องมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นต่อบุคคลนั้น
                         ความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหาย  อาจจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายใด ๆ ที่มีโทษทางอาญาก็ได้  หากการกระทำใดไม่เป็นความผิดทางอาญาเสียแล้ว  บุคคลผู้ได้รับความเสียหายก็ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง  เช่น
            คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๔๔-๑๑๔๕/๒๕๐๖  ผู้ซื้อซื้อเสื้อผ้าไปเอง โดยเห็นว่าราคาถูก ไม่ใช่ฉ้อโกง  ผู้ซื้อไม่เป็นผู้เสียหาย
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๓๕๕/๒๕๐๘  ผู้ที่ปลูกต้นพลู แต่ต้นพลูได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเสียแล้ว  เจ้าของที่ดินได้ตัดต้นพลู  แม้จะมีผู้อื่นร่วมตัดต้นพลูด้วย  ย่อมไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์  ผู้ปลูกต้นพลูไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๐๘๓/๒๕๑๐  ผู้ตายและคู่ซ้อมสมัครใจชกมวยกันที่สนามซ้อมมวยของเจ้าของสนามซ้อม  มีการสวมนวมชกกัน    ยก  ชก    นาที  พัก    นาที  มีกรรมการห้ามและกรรมการจับเวลา  ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตาย  เพราะสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง  บิดาของผู้ตายไม่มีอำนาจฟ้องคู่ซ้อมของผู้ตาย  เพราะผู้ตายไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย เนื่องจากสมัครใจเข้าชกมวยซึ่งกันและกัน



                   (๒)  บุคคลนั้นต้องได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำความผิดอาญานั้น  กล่าวคือ เป็นผู้เสียหายโดยพฤตินัย
                   ผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหาย  เดือดร้อน  ยุ่งยาก ซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญานั้น  เช่น
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๔๔๘/๒๔๘๙  คำกล่าวหมิ่นประมาทพระทั้งวัดและวัดนั้นมีพระเพียง    รูปนั้น  ถือว่าพระทุกรูปเป็นผู้เสียหาย  พระรูปใดรูปหนึ่งก็ร้องทุกข์ได้
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๒๙๔/๒๕๑๗   บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย  โจทก์จัดการแทนบุตรตาม ป.วิ.อ. มาตรา  ๕ (๒)  จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น  ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดย
ไม่ชอบ  เพื่อช่วยเหลือ ส.  มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลย
เป็นการกระทำต่อโจทก์  โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง  มีอำนาจฟ้องตาม ป.อ.มาตรา  ๑๕๗, ๒๐๐
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๕๘๓/๒๕๒๒  สามีจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นโดยที่ยังไม่ขาดจากภริยาเดิมที่ได้จดทะเบียนสมรสไว้  แต่อ้างกับเจ้าหน้าที่จดทะเบียนว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน  ภริยาเดิมเป็นผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา ๑๓๗  ได้
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๕๔๘/๒๕๓๕  ในขณะเกิดเหตุแม้โจทก์ร่วมจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์  แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกจำเลยลักไป  เมื่อถูกจำเลยแย่งการครอบครอง โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา  ๓(๑)(๒)
                        (๓)    บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย กล่าวคือ ต้องเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย
                   หมายถึง  ผู้เสียหายจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด หรือ เป็นผู้ที่ยินยอมให้มีการกระทำความผิด หรือพัวพันกับการกระทำความผิดหรือเป็นการกระทำโดยมิชอบ  เช่น
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๗๘-๗๙/๒๕๐๒  โจทก์จำเลยทะเลาะกันแล้วต่างคนต่างด่ากัน  จำเลยด่าก่อนโจทก์จึงด่าตอบ  โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ฟ้องจำเลยว่าดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่ได้
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๙๕๔/๒๕๐๒  หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกนั้น  ถือว่าหญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย  จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔)  และแม้หญิงจะถึงแก่ความตาย  บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ที่ทำให้หญิงนั้นแท้งลูก

                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๒๘๑/๒๕๐๓  ผู้กู้ที่ยอมตกลงในการกู้ให้เขาเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น  ไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๒๓-๒๒๔/๒๕๑๓   โจทก์จำเลยต่างสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกันและกัน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย                             
             คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๔๘๑/๒๕๒๔  ผู้เสียหายทั้งสามเป็นผู้ใช้ให้จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้       เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้                                  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๔๒๖๑/๒๕๓๙  การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็ว  และต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่ง  ฟังได้ว่าขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่าย  เมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา  ๒ (๔)  โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา  ๕ (๒)  ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา  ๓๐                         
                        เมื่อเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย โดยมีคุณสมบัติครบทั้ง    ประการ  ดังกล่าวมานี้แล้ว ก็มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม มาตรา  ๒๘ (๒)  โดยถือว่าเป็นโจทก์และคู่ความตาม มาตรา  ๒ (๑๔) (๑๕)  ซึ่งนอกจากผู้เสียหายจะมีอำนาจฟ้องคดีโดยตนเองแล้ว  ผู้เสียหายยังมีอำนาจอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับคดีของตนอีก คือ ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หรือยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว
(ข)ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง  ตามมาตรา  ๔ , ๕   
          และ
                   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒ (๔)   บัญญัติว่า ผู้เสียหาย  หมายความว่า  บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๔,๕ และ ๖
                        นอกเหนือจากผู้เสียหายที่แท้จริงแล้ว  ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง ตามมาตรา ๔,๕ และ ๖ ก็เป็น ผู้เสียหาย ด้วย  ตามคำนิยามตอนท้ายของมาตรา ๒ (๔) ข้างต้นนี้ จึงมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา    



๑.                ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตามมาตรา ๔   
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔ บัญญัติว่า ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
                        ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๕ (๒) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา
                        คำว่า สามีภริยา ตามมาตรา ๔ ต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
            ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง ตามมาตรา ๔ นี้ หมายความถึงกรณีตามวรรค ๒ กล่าวคือ สามีมีสิทธิฟ้องคดีรวมทั้งสิทธิอื่น ๆ  ตามมาตรา ๓ แทนภริยา เมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา แต่ก็ไม่จำต้องถึงขึ้นมอบอำนาจให้สามีกระทำการแทน สามีก็เป็นผู้เสียหาย เพราะเป็น ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง (คือภริยา)
เงื่อนไขในการจัดการแทนจะต้องประกอบด้วย
๑)        ต้องมีการอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือแม้จะอนุญาตให้ฟ้องคดีก็ตาม เพราะไม่ใช่การมอบอำนาจในฐานะตัวการตัวแทน
๒)       ไม่จำกัดประเภทความผิด ไม่ว่าภริยาจะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานใด ๆ
๓)       แม้ภริยาจะจัดการเองได้ เช่น ถูกทำร้ายร่างกายแต่ไม่ถึงขั้นไม่สามารถจัดการเองได้ ก็อนุญาตให้สามีจัดการแทนได้
มาตรา ๔  วรรค   นี้   หมายความเฉพาะกรณีที่สามีจัดการแทนเมื่อได้รับอนุญาต
โดยชัดแจ้งจากภริยา แต่ภริยาจะจัดการแทนสามีไม่ได้แม้สามีจะอนุญาตโดยชัดแจ้งก็ตาม เว้นแต่จะมอบอำนาจในฐานะตัวการและตัวแทน เช่น สามีเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงมอบอำนาจให้ภริยาไปร้องทุกข์ หรือมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ภริยาไปฟ้องคดีแทน เป็นต้น
๒.  ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตามมาตรา  
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ บัญญัติว่า บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(๑)  ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อ
ผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
                        (๒) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
                        (๓)  ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล      เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น

                        (๒.๑) กรณีตามมาตรา ๕ (๑)    ผู้แทนโดยชอบธรรม ตามอนุมาตรานี้ได้แก่ บิดามารดา  ผู้ปกครอง แต่บิดาจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๖  และเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา ๑๕๖๙ เมื่อเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
                        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๖ เด็กเกิดจากหญิงซึ่งมิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น บุตรผู้เยาว์จึงอยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดา ตามมาตรา ๑๕๖๖ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา ๑๕๖๙ แต่เพียงผู้เดียว  ส่วนบิดาไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์   เช่น
                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๘๒/๒๕๒๗   บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ วรรคแรก จึงถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๐๖/๒๕๔๕   ผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปี เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕(๑) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้
                        (๒.๒) กรณีตามมาตรา ๕(๒)    ตามอนุมาตรานี้ ผู้บุพการี ถือตามความเป็นจริง ดังนั้น บิดาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาแม้จะไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร แต่ก็ถือว่าเป็นผู้บุพการี
                        ส่วน ผู้สืบสันดาน ก็ถือตามความเป็นจริงเช่นเดียวกัน แต่ ผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ใช่ผู้บุพการีของบุตรบุญธรรม และ บุตรบุญธรรม ก็ไม่ใช่ผู้สืบสันดาน เพราะต่างก็ไม่เป็นผู้สืบสายโสหิต
                        สามีภริยา ต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ต้องจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา ๑๔๕๗   ตามมาตรา ๕ (๒) นี้  สามีจัดการ


แทนได้เฉพาะกรณีภริยาถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ซึ่งกระทำได้ทันทีโดยผลของกฎหมาย  โดยไม่ต้องมีการอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยาอย่างเช่นมาตรา ๔ วรรค ๒   เช่น
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๓๓๕/๒๔๙๔   หญิงที่อยู่กินกับชาย โดยไม่จดทะเบียนสมรสนั้น ไม่ใช่ภรรยาอันชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นเมื่อชายถูกเขาฆ่าตายหญิงนั้นย่อมมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการฟ้องผู้ฆ่าเป็นจำเลย
            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๓/๒๔๙๗ คำว่า ผู้สืบสันดาน นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) มิได้ให้คำจำกัดความไว้อย่างใดดังนั้นย่อมหมายถึงผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง
                        ในคดีที่อัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนามารดาในฐานะผู้ปกครองบุตรนอกสมรสของผู้ตายมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและศาลมีอำนาจสั่งให้ไต่สวนได้
             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๖/๒๕๐๙  (ประชุมใหญ่)  คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่า สืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๖,๑๕๘๗,๑๖๒๗ แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม    และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับผู้บุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา ๑๕๘๖,๑๖๒๗  เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา ๗๑ วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการีตามาตรา ๗๑  จึงยอมความไม่ได้
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๘๔/๒๕๑๖ (ประชุมใหญ่)  ผู้บุพการีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) นั้น หมายถึง ผู้บุพการีตามความเป็นจริง
                        โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ผู้ตายอายุ ๑๗ ปี ยังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมา แต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้าย

ถึงแก่ความตาย  โจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้                                 
            (๒.๓) กรณีตามมาตรา ๕ (๓)   ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล หมายถึง ผู้ที่แสดงออกซึ่งความประสงค์ของนิติบุคคลนั้น  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐ วรรคสอง ซึ่งมีอำนาจกระทำในนามของนิติบุคคลได้โดยไม่ต้องมีการมอบหมาย เพราะเป็นการจัดการแทนผู้เสียหายที่เป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๕ (๓) นี้ แต่ถ้าผู้แทนนิติบุคคลไม่ประสงค์กระทำการเอง ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้ใดไปกระทำการแทนก็ได้  เช่น
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๐/๒๕๑๕   หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
                        ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับคดีเรื่องเช็คได้ทุกศาล เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนเฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
                        โจทก์ฟ้องร้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หลังจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ๕ เดือนเศษ โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๒๕/๒๕๑๖  แม้ในขณะยื่นฟ้องกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ได้  แต่ต่อมาผู้ที่มีอำนาจกระทำการเป็นผู้แทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว สิทธิที่จะจัดการแทนโจทก์ของกรรมการผู้จัดการคนเดิมย่อมสิ้นสุดลง
                        การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๒๘/๒๕๓๑  จำเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างของบริษัทตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและเก็บรวบรวมเงินค่าสินค้าจากลูกค้าส่งให้บริษัทตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเพียงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจของบริษัทให้กระทำการได้เพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หามีอำนาจกระทำกิจการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ไม่ จำเลยที่ ๑ จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๓)  การที่จำเลยที่    โดยลำพังหรือร่วมกับจำเลยที่    ยักยอก

ทรัพย์ของบริษัท บริษัทย่อมเป็นผู้เสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิใช่ผู้เสียหายตามความในมาตรา ๒ (๔) อันจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘ (๒)
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๕๒/๒๕๔๔ จำเลยทำเอกสารเท็จยื่นขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของมณฑลทหารบกที่ ๓๑  แม้ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่  ๓๑  แต่มณฑลทหารบกที่ ๓๑  เป็นเพียงหน่วยงานของกองทัพบกสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๑๗  กำหนดให้กองทัพบกเป็นนิติบุคคล มณฑลทหารบกที่    ๓๑  ไม่มีฐานะ เป็นนิติบุคคลจึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือถือว่าเป็นผู้แทนอื่นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๓) การที่ พลตรี ศ. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๑  มอบอำนาจให้พันโท ป. มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแทนกองทัพบก จึงถือว่าไม่มีการร้องทุกข์พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน
                        ๓.  ผู้แทนเฉพาะคดี ตามมาตรา ๖   
                        ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖ บัญญัติว่า ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
                        เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
                        ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
                        การร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ตามมาตรานี้มีได้ ๒ กรณี คือ
           (๓.๑) ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์
            (๓.๒)  ผู้วิกลจริตหรือผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือผู้อนุบาลไม่สามารถทำหน้าที่หรือมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้ไร้ความสามารถ
            แต่ต้องเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถยังมีชีวิตอยู่ด้วย มิฉะนั้นก็จะขอให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีไม่ได้  เช่น

                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๓๖๕/๒๕๓๒  การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนเฉพาะคดีแล้ว  ย่อมไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อดำเนินคดีแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๒๕/๒๕๓๒  โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต. และมีอำนาจฟ้องคดีแทน ต. เมื่อปรากฏว่า ต. ซึ่ง โจทก์อ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วศาลก็ไม่อาจตั้ง  โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะ คดีของ ต. ได้ เพราะ ต. ไม่ใช่ผู้วิกลจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างต่อไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา ๒๙  วรรคสองที่บัญญัติว่าถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้ นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายความรวมถึงกรณีนี้ซึ่ง ผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๕๘/๒๕๔๑  พ. มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ น. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗  แม้ตามคำฟ้องจะระบุว่า น.ผู้เยาว์โดย พ. บิดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.เป็นบุตรของโจทก์อันเกิดกับ ร.ภรรยาของโจทก์ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และ ร.หนีออกจากบ้านตั้งแต่ น.ยังเล็กอยู่ พ.เป็นผู้ให้ความอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาและให้ น.ใช้นามสกุลกรณีเป็นเรื่องมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ น.ผู้เยาว์ไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ ดังนั้น ญาติของ น.ผู้เยาว์หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องจึงอาจร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖  การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ถือได้โดยปริยายว่า ศาลชั้นต้นตั้งให้ พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามกฎหมายอีกทั้งยังปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีคำสั่งตั้ง พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีอีกด้วยเช่นนี้ พ.จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแทน น.ผู้เยาว์ได้
                        กล่าวโดยสรุปประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ให้ความสำคัญกับราษฎรผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดอาญา   จึงให้อำนาจฟ้องคดีได้เอง แยกต่างหากจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และถึงแม้ผู้เสียหายที่แท้จริงจะต้องมีอันเป็นไป เช่น ถึงแก่ความตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการฟ้องคดีเองได้ กฎหมายก็ยังได้ให้อำนาจแก่บิดามารดา

                                                                                                                                    หน้า ๑๑
ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล คู่สมรส หรือญาติพี่น้อง เข้ามาจัดการแทน หรือในกรณีของนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่เหมือนเช่นบุคคลธรรมดาแต่ก็ไม่มีชีวิตจิตใจ
จึงให้ผู้แทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีอำนาจจัดการแทนในคดีอาญาได้ และบุคคลซึ่งเข้ามาจัดการแทนเหล่านี้ก็อยู่ในฐานะของผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีและอำนาจกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ มิได้เป็นเพียงตัวแทนตามหลักกฎหมายเรื่องการเป็นตัวการตัวแทนแต่อย่างใด



คณะวิชาการกฎหมาย
สถาบันตุลยภัทร์  ลอว์เซ็นเตอร์
                                                                                                                   ๑  มกราคม  ๒๕๕๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น