ภาวะความคิดที่ดุเดือด

การที่เรามีความคิดในฉบับแบบของเราเป็สิ่งที่ใครๆก็ไม่รู้ใครๆก็ไม่ทราบแต่คนที่รู้คือตัวเราเท่านั้นสำคัญอยู่ที่ว่าจะใช้มันอย่างไร
1.รู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำอะไรที่ไม่ดี(จะรู้สึกว่าถึงตอนที่แม่เลี้ยงเราและสอนเราตอนเด็ก)ความรู้สึกนี้จะเข้ามาในหัว
2.รู้สึกสมเพชคนที่เที่ยวเตร่กลางคืน คิดว่าที่จริงแล้วคนเราต้องการความสุขแบบนี้จริงหรือทำไมผมถึงไม่รู้สึกว่ามันสุขเลย
3.เกรงกลัวความผิดเมื่อคิดจะทำสิ่งที่ผิด และรู้สึกว่าจิตใต้สำนึกได้แย้งว่าห้ามทำโดยเด็จขาด
ทำให้เราไม่สามารถทำสิ่งที่ผิดได้

เรื่องราวของผมอาจฟังดูแปลกแต่ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นกับผมเกือบตลอด
นอกจากนี้แล้วผมมีความรู้สึกอีกหลายอย่างที่หาคำตอบไม่ได้
บางทีเล่าให้คนอื่นฟังว่ารู้สึกแบบนี้กลายว่าเราเป็นคนแปลกที่ไม่รู้สึกเหมือนเขา
ผมอยากรู้ว่าความรู้สึกทำนองนี้มันคืออะไรครับ

มีหิริ และ โอตตัปปะ สูง ก็ดีแล้ว

การทำไม่ดี นำความทุกข์มาให้ในอนาคต
แสดงว่าคุณ อาจเคยฝึกจิตฝึกใจ มาก่อนเมื่ออดีต(ชาติ) ความคิด การตัดสินใจ เป็นไปตามการที่เคยได้สะสมมา

อดีต กรรม ทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาทำให้ตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดภพ คือการกระทำกรรมใหม่อีก(กรรมภพ)

ถ้าทำอดีตกรรมไม่ค่อยดีเอาไว้ เช่นเบียดเบียนสัตว์อื่น ส่งผลให้เกิดผัสสะที่ไม่ดี กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เลยได้รับ ทุกข์เวทนาทางกายและทางใจเป็นส่วนใหญ๋ (แทนที่จะเป็นสุข กลับได้ทุกข์ซะมากกว่า)

คุณตระหนักถึง กฏแห่งกรรมอันนี้ นับว่า ดีแล้ว จะได้อยู่รอดปลอดภัย ในวัฏฏสงสาร สืบไป

จัดเป็น นักท่องวัฏฏสงสาร ที่ดี






























วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

อสัญแดหวา

เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่มาถึงประเทศจีนในช่วงศตวรรษแรกของคริสตกาล ก็ได้ปะทะสังสรรค์กับวัฒนธรรมซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าสองพันปี ในวัฒนะธรรมโบราณนี้ความคิดเชิงปรัชญาได้ถึงจุดสมบูรณ์สุดยอดในปลายราชวงศ์โจว ซึ่งนับเป็นยุคทองของปรัชญาจีน และก็ยังเป็นที่นับถืออย่างสูงสุดเรื่อยมา
ตั้งแต่แรกเริ่มเลยทีเดียวที่ปรัชญาจีนมีสองลักษณะที่เสริมซึ่งกันและกัน เนื่องจากชาวจีนเป็นผู้นิยมการปฏิบัติและมีสำนึกทางสังคมสูง ดังนั้นปรัชญาทุกสำนักของจีนจึงสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคม มนุษยสัมพันธ์ คุณค่าทางศีลธรรมและรัฐบาลในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนคำสอนที่ลึกซึ้ง ซึ่งชี้แนะว่าจุดหมายสูงสุดของปรัชญานั้นอยู่เหนือสังคมโลกและชีวิตประจำวัน คือการเข้าสู่สภาวะจิตที่สูงส่ง ซึ่งเป็นระดับของนักปราชญ์ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ผู้บรรลุถึงความเป็นเอกภาพของจักรวาล
อย่างไรก็ตามนักปราชญ์ของจีนนั้นมิได้ดำรงอยู่เฉพาะในภูมิแห่งจิตที่สูงส่งเท่านั้น  ทว่ายังคงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางโลกอยู่เท่า ๆ กันในตัวท่านมีทั้งด้านที่เป็นปัญญาญาณและความรู้แห่งการปฏิบัติ ความสงบระงับ และปฏิบัติการทางสังคม คุณลักษณะเช่นนี้ได้ปรากฏในคุณลักษณะของนักปราชญ์และพระจักรพรรดิ จางจื้อ กล่าวไว้ว่ามนุษย์ผู้รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์นั้น เมื่อสงบนิ่งอยู่ท่านคือปราชญ์ หากเมื่อเคลื่อนไหวท่านคือจักรพรรดิ
ในระหว่างศตวรรษที่ 6 ก่อนคริศตกาล ปรัชญาจีนในสองลักษณะดังกล่าวได้พัฒนาสู่ปรัชญาสองสำนักที่แยกกันชัดเจนคือ ลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า
ลัทธิขงจื้อเป็นลัทธิที่จัดการองค์กรทางสังคม เป็นปรัชญาแห่งสามัญสำนึกและความรู้ในการดำเนินชีวิต ลัทธิขงจื้อได้เป็นรากฐานของระบบการศึกษาของสังคมจีนและค่านิยมในทางศีลธรรมจรรยาที่แข็งแกร่ง ความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งคือการวางรากฐานทางจริยธรรมสำหรับระบบครอบครัวของจีน ด้วยคำสอนซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษ ในทางตรงกันข้าม ลัทธิเต๋ามุ่งการสังเกตธรรมชาติและการค้นหาวิถีของธรรมชาติ หรือเต๋า ความสุขของมนุษย์ในทัศนะของเต๋าเกิดจากการที่มนุษย์ดำเนินตามกฎของธรรมชาติ กระทำการต่าง ๆ สอดคล้องกับธรรมชาติอย่างเป็นไปเอง และเชื่อมั่นในญาณปัญญา
ขงจื้อกับเต๋า
สองแนวคิดนี้ได้แทนขั้วตรงกันข้ามในปรัชญาจีน แต่ในประเทศจีนถือว่าเป็นขั้วเดียวกัน ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยทั่วไปลัทธิขงจื้อจะเน้นที่การศึกษาของเยาวชน ซึ่งจะต้องเรียนรู้กฎระเบียบและค่านิยมที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคม ในขณะที่ลัทธิเต๋าจะมีผู้สูงอายุยึดถือปฏิบัติ มุ่งที่จะแสวงหาและพัฒนาความเป็นไปเองตามธรรมชาติในชีวิตซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว แต่ได้ถูกทำลายไปโดยค่านิยมทางสังคม ในศตวรรษที่ 11 และ 12 ลัทธิขงจื้อแนวใหม่ได้พยายามที่จะสังเคราะห์ลัทธิขงจื้อ พุทธศาสนา และลัทธิเต๋าเข้าด้วยกัน ก่อกำเนิดเป็นปรัชญาของจูสีร์ นักคิดผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของจีน จูสีร์เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญซึ่งรวมเอาความเป็นนักศึกษาของขงจื้อเข้ากับการเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งตามแนวพุทธและเต๋าสังเคราะห์ขึ้นเป็นปรัชญาของตน
ลัทธิขงจื้อตั้งชื่อตามท่าน กังฟูจื้อ หรือ ขงจื้อ ผู้เป็นครูเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก ขงจื้อมีเป้าหมายหรือหน้าที่ประการสำคัญในการถ่ายทอดมรดกแห่งวัฒนธรรมโบราณแก่ลูกศิษย์ของตน อย่างไรก็ตาม ขงจื้อได้ปฏิเสธวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่สืบกันมาแบบปรัมปรา โดยตีความประเพณีต่าง ๆ ตามความคิดทางศีลธรรมของตนเอง
คำสอนของขงจื้อมีรากฐานอยู่บนคัมภีร์สุดยอดทั้งหก ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณอันบรรจุอยู่ด้วยปรัชญา พิธีกรรม กวีนิพนธ์  ดนตรี และประวัติศาสตร์ ถือเป็นมรดกทางจิตใจและวัฒนธรรมของนักปราชญ์ของจีนในอดีต ตามธรรมเนียมของจีนเชื่อกันว่าขงจื้อเป็นผู้ประพันธ์ ผู้วิจารณ์ และผู้จัดทำคัมภีร์เหล่านี้ แต่นักศึกษาสมัยใหม่ไม่ยอมรับเช่นนั้น ความคิดของขงจื้อเองเริ่มเป็นที่รู้จักกันในคัมภีร์  ลุ่นอวี้ (Lun Yu) หรือคัมภีร์หลักลัทธิขงจื้อ ซึ่งรวบรวมสรุปคำสอนต่างๆโดยลูกศิษย์บางคนของขงจื้อ
ผู้เป็นปรมาจารย์ของลัทธิเต๋าก็คือ เหล่าจื้อ ชื่อของท่านมีความหมายว่า อาจารย์ผู้เฒ่า” ท่านเป็นคนร่วมสมัยกับขงจื้อ ทว่ามีอายุมากกว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เหลาจื้อเป็นผู้รจนาคัมภีร์สั้น ๆ ซึ่งรวมคำสอนสำคัญของเต๋าเอาไว้ ในประเทศจีนโดยทั่วไปเรียกคัมภีร์เล่มนี้ว่า เหลาจื้อ และในตะวันตกเรียกคัมภีร์เล่มนี้ว่า เต๋าเตอจิง แปลว่า จินตกวีนิพนธ์แห่งวิถีทางและอำนาจ”  ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันภายหลัง ข้าพเจ้าได้เอ่ยถึงวิธีการเขียนที่ผกผันผิดธรรมดาและสำนวนภาษาที่ทรงพลังในท่วงทำนองของกวีนิพนธ์ของคัมภีร์เล่มนี้ ซึ่งโจเซฟนีแดรมถือว่าเป็น งานที่ลึกซึ้งและงดงามที่สุดในภาษาจีน
คัมภีร์สำคัญอันดับสองของเต๋าคือคัมภีร์ จางจื้อ ซึ่งใหญ่กว่าเต๋าเตอจิงมาก ผู้รจนาคือจางจื้อ ซึ่งมีชีวิตอยู่ราวสองร้อยปีหลังเหลาจื้อ อย่างไรก็ตามนักศึกษาสมัยใหม่เห็นว่า ทั้งคัมภีร์จางจื้อและเหลาจื้อมิใช่งานของผู้ประพันธ์เพียงคนเดียว แต่เป็นคัมภีร์ที่รวมบทประพันธ์เต๋าของผู้ประพันธ์หลาย ๆ คนในระยะเวลาต่าง ๆ กัน
            มุ่งหมายสิ่งเดียวกัน
ทั้งคัมภีร์หลักลัทธิขงจื้อและคัมภีร์เต๋าเตอจิง ประพันธ์ขึ้นในท่วงทำนองที่เสนอแนะอย่างกระชับ ซึ่งเป็นแบบฉบับของแนวคิดแบบจีน จิตใจแบบจีนไม่ถูกหน่วงอยู่ด้วยความคิดเชิงตรรกะแบบย่อสรุป และได้พัฒนาภาษาที่แตกต่างจากภาษาตะวันตกอยู่มาก คำหลายคำอาจใช้เป็นคำนาม คำวิเศษณ์ หรือคำกริยาและลำดับของคำในประโยคมิได้ถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยกรณ์มากเท่ากับเนื้อหาทางอารมณ์ของประโยค
คำในภาษาจีนดั้งเดิมแตกต่างจากสัญลักษณ์ย่อสรุปซึ่งแทนความคิดแยกแยะวิเคราะห์อย่างชัดเจนเป็นอันมาก มันเป็นสัญลักษณ์ทางเสียงเสียมากกว่าและมีพลังแห่งการนำเสนอความหมายที่รุนแรง ก่อให้เกิดภาพแห่งจินตนาการและอารมณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างฉับพลัน ความตั้งใจของผู้พูดมิได้มุ่งแสดงความคิดที่เฉลียวฉลาดมากนัก แต่มุ่งที่จะให้เกิดผลกระทบอย่างมีอิทธิพลต่อผู้ฟังมากกว่า ในทำนองเดียวกันลักษณะตัวเขียนก็มิใช่สัญลักษณ์ย่อสรุปแต่เป็นแบบแผนของสิ่งที่ทรงชีวิต ที่เรียกว่า เกสตอลต์” ซึ่งรักษาจินตนาการและพลังแห่งการนำเสนอความหมายของคำนั้นไว้ได้อย่างสมบูรณ์
ด้วยเหตุผลที่นักปราชญ์ของจีนมีการแสดงออกทางภาษาที่เหมาะกับวิธีคิดของตน การเขียนการพูดของท่านเหล่านั้นจึงเป็นแบบที่ห้วนสั้น แต่มั่งคั่งด้วยจินตนาการ จินตนาการเหล่านี้ส่วนมากจะสูญหายไปเมื่อมีการแปลถ้อยคำเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น การแปลข้อความจากคัมภีร์เต๋าเตอจิงจะเก็บใจความได้เป็นส่วนน้อยจากความคิดที่มั่งคั่งในภาษาเดิม นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คัมภีร์นี้หลายสำนวนดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฟุงยู่หลาน ได้กล่าวไว้ว่า ต้องรวมเอาคำแปลทุกสำนวนที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีขึ้นเข้าด้วยกันจึงจะแสดงความหมายของคัมภีร์เหลาจื้อและคัมภีร์หลักของลัทธิขงจื้อได้อย่างสมบูรณ์ตามความหมายในภาษาเดิม
เช่นเดียวกับชาวอินเดีย ชาวจีนเชื่อว่ามีปรมัตถ์สัจจะซึ่งเป็นที่รวมและที่มาของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลายที่เราสังเกตได้
มีคำอยู่สามคำคือ สมบูรณ์”    “รวมทุกสิ่ง”  และ ทั้งหมด
คำเหล่านี้ต่างกัน แต่สัจจะซึ่งแฝงอยู่ในนั้นเหมือนกัน
มุ่งหมายถึงสิ่ง ๆ เดียว 
ชาวจีนเรียกสัจจะนี้ว่า เต๋า ซึ่งมีความหมายว่า ทาง” มันเป็นวิถีทางหรือกระบวนการของจักรวาล กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ในระยะต่อมาผู้นับถือลัทธิขงจื้อได้ตีความหมายแตกต่างออกไป โดยกล่าวถึงเต๋าของมนุษย์ หรือเต๋าของสังคมมนุษย์ และรับเอาเป็นหนทางชีวิตที่ถูกต้องในศีลธรรม
ในความหมายเดิมในระดับกว้าง เต๋า” เป็นปรมัตถสัจจะซึ่งไม่อธิบายได้ ดังนั้นจึงเท่ากับพรหมันในศาสนาฮินดูและธรรมกายในศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามมันแตกต่างจากความคิดทางอินเดียสองความคิดนี้ โดยคุณลักษณะแห่งความเป็นพลวัติของมัน เต๋าเป็นกระบวนการแห่งแห่งเอกภพซึ่งทุกสิ่งมีส่วนสัมพันธ์อยู่ด้วย โลกเป็นกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงอันต่อเนื่องไม่รู้สิ้นสุด
            หลักอนิจจัง
พุทธศาสนาเป็นหลักอนิจจังซึ่งคล้ายคลึงกับเต๋ามาก แต่ในพุทธศาสนาหลักอนิจจังถูกนำมาใช้เป็นหลักเบื้องต้นในการอธิบายสภาพการณ์ของมนุษย์เท่านั้นโดยได้แจกแจงรายละเอียดทางจิตวิทยาสืบเนื่องจากหลักการดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม ชาวจีนมิได้เพียงแต่เชื่อว่าการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะสำคัญของธรรมชาติ แต่ยังเชื่อด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีแบบแผนที่แน่นอน ซึ่งมนุษย์สังเกตรู้ได้นักปราชญ์ได้เห็นถึงแบบแผนเหล่านี้ดังนั้นจึงมุ่งการกระทำของท่านให้สอดคล้องกับมัน โดยวิธีการเช่นนี้ท่านกลายเป็น หนึ่งเดียวกับเต๋า” มีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ และจึงสำเร็จในทุกสิ่งที่กระทำ ฮวยหนั่นจื้อ นักปราฃญ์ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาลได้กล่าวไว้ว่า 
ผู้กระทำตามวิถีทางแห่งเต๋า ปฏิบัติสอดคล้องกับกระบวนการธรรมชาติของฟ้าและดิน จะจัดการกับโลกได้อย่างง่ายดาย 
แล้วอะไรคือแบบแผนวิถีทางแห่งเอกภาพ ซึ่งมนุษย์ต้องรู้จักลักษณะสำคัญของเต๋าคือธรรมชาติแห่งการหมุนวนของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบเหลาจื้อกล่าวว่า การหมุนกลับคือการเคลื่อนไหวของเต๋า” และ ยิ่งไปได้ไกลหมายถึงการย้อนกลับ” ประเด็นสำคัญในที่นี้ก็คือ พัฒนาการทุกอย่างในธรรมชาติไม่ว่าในทางกายภาพหรือสภาพการณ์ของมนุษย์แสดงแบบแผนแห่งการหมุนไปและกลับ  แบบแผนแห่งการยืดขยายและหดตัว
ความคิดนี้ได้จากการสังเกตการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอย่างไม่ต้องสงสัย  และได้ถูกยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ของชีวิต  ชาวจีนเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่สภาพการณ์หนึ่งใดได้พัฒนาไปจนถึงที่สุดในทางหนึ่ง  มันจะต้องหมุนย้อนกลับมาถึงที่สุดในอีกทางหนึ่ง  ความเชื่อพื้นฐานอันนี้ได้ให้ความกล้าหาญและอดทนในยามลำบาก ทำให้มัธยัสถ์ในยามที่ประสบความสำเร็จ และได้นำไปสู่หลักคำสอนแห่งหนทางอันเรืองรองซึ่งผู้นับถือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อ เหลาจื้อกล่าวว่า นักปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงความฟุ้งเฟ้อเกินพอดี และการทำตามอำเภอใจ
                                                                                           ฟริตจอฟ  คาปรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น